Last updated: 26 มี.ค. 2566 | 502 จำนวนผู้เข้าชม |
(siren) สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 12 (อุบลราชธานี) ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่รับผิดชอบ ประจำวันที่ 26 มี.ค. 2566 ดังนี้
(crossed-out eyes) จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 08.00 น. ได้ 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินมาตรฐานกำหนด (เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากจำเป็น หากมีอาการไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ควรปรึกษาแพทย์
() การตรวจสอบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ รวม 19 จุด ได้แก่ จุดความร้อนในพื้นที่ อ.โขงเจียม 5 จุด (เขต สปก. 2 จุด พื้นที่เกษตร 1 จุด และชุมชน 2 จุด) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.เขื่องใน 4 จุด (พื้นที่เกษตร) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.เขมราฐ 2 จุด (พื้นที่เกษตร 1 จุด และชุมชน 1 จุด) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.น้ำยืน 1 จุด (ป่าอนุรักษ์) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.บุณฑริก 2 จุด (ป่าอนุรักษ์ 1 จุด และพื้นที่เกษตร 1 จุด) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.ตระการพืชผล 1 จุด (เขต สปก.) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.พิบูลมังสาหาร 1 จุด (พื้นที่เกษตร) และจุดความร้อนในพื้นที่ อ.โพธิ์ไทร 3 จุด (ป่าอนุรักษ์ 1 จุด เขต สปก. 1 จุด และชุมชน 1 จุด)
(happy face) จังหวัดศรีสะเกษ ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 08.00 น. ได้ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับไม่เกินมาตรฐานกำหนด (ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
() การตรวจสอบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ อ.โนนคูณ 1 จุด (ชุมชน)
(crossed-out eyes) จังหวัดมุกดาหาร ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 08.00 น. ได้ 53 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินมาตรฐานกำหนด (เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากจำเป็น หากมีอาการไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ควรปรึกษาแพทย์
() การตรวจสอบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ รวม 15 จุด ได้แก่ จุดความร้อนในพื้นที่ อ.เมืองมุกดาหาร 5 จุด (เขต สปก.) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.ดงหลวง 8 จุด (ป่าอนุรักษ์ 2 จุด เขต สปก. 2 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 3 จุด และชุมชน 1 จุด) และจุดความร้อนในพื้นที่ อ.คำชะอี 2 จุด (ป่าอนุรักษ์)
(side glance) จังหวัดอำนาจเจริญ ยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ (มีแผนการติดตั้งสถานีฯ ของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2566)
() การตรวจสอบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ รวม 13 จุด ได้แก่ จุดความร้อนในพื้นที่ อ.พนา 4 จุด (พื้นที่เกษตร 1 จุด และชุมชน 3 จุด) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.เสนางคนิคม 7 จุด (ป่าอนุรักษ์ 6 จุด และเขต สปก. 1 จุด) และจุดความร้อนในพื้นที่ อ.หัวตะพาน 2 จุด (ริมทางหลวง)
(side glance) จังหวัดยโสธร ยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ (มีแผนการติดตั้งสถานีฯ ของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2566)
() การตรวจสอบจุดความร้อน ในพื้นที่จังหวัดยโสธร ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่ รวม 19 จุด ได้แก่ จุดความร้อนในพื้นที่ อ.ทรายมูล 4 จุด (ป่าสงวนแห่งชาติ 1 จุด พื้นที่เกษตร 1 จุด และชุมชน 2 จุด) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.กุดชุม 1 จุด (พื้นที่เกษตร) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.คำเขื่อนแก้ว 5 จุด (พื้นที่เกษตร) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.ป่าติ้ว 1 จุด (พื้นที่เกษตร) จุดความร้อนในพื้นที่ อ.มหาชนะชัย 5 จุด (พื้นที่เกษตร) และจุดความร้อนในพื้นที่ อ.เลิงนกทา 3 จุด (ป่าอนุรักษ์ 1 จุด และเขต สปก. 2 จุด)
สำหรับจำนวนจุดความร้อนในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ตามการรายงานของ gistda เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 66 พบว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา มีจุดความร้อน จำนวน 744 จุด และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีจุดความร้อน จำนวน 8,535 จุด และจากการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประจำวันที่ 26 มี.ค. 2566 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย มีลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านเข้ามาในพื้นที่
ผอ.สคพ.12